ลวดสลิงคือ มาตรฐานลวดสลิงที่คุณต้องรู้ก่อนสั่งลวดสลิง

7/10/2020

ประเภทของลวดสลิง เรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนสั่งลวดสลิง

คุณอาจเคยเห็นลวดสลิงเกลียวหยาบ เกลียวละเอียด โครงสร้าง19×7 หรือ 6×36 หรือเกลียวซ้ายและเกลียวขวา ทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร

วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าสเปคมาตรฐานของลวดสลิงเป็นอย่างไร ตั้งแต่ แกนลวดสลิง โครงสร้าง การเรียงตัวของเกลียว และลวดสลิงแบบไหนที่เหมาะกับงานของคุณ

ลวดสลิงคืออะไร

ลวดสลิงนั้นประกอบด้วยการมัดของเส้นลวดโลหะที่บิดเป็นเกลียวล้อมรอบแกน หรือถ้าจะอธิบายให้เข้าง่ายๆ คือการเอาลวดเหล็กหลายเส้นมาบิดเกลียวร่วมกันเป็นเส้นเดียว เพื่อเพิ่มทั้งความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น

แกนของลวดสลิง

แกนของลวดสลิงแบ่งได้เป็น 2 อย่างหลักคือ แกนเหล็ก และ แกนเชือก หรือไส้เหล็ก และ ไส้เชือก

Fiber Core (FC)

ลวดสลิงไส้เชือกนั้นให้ความยืดหยุ่นมากกว่าสลิงไส้เหล็ก แต่เสี่ยงต่อการเสียหายจาก แรงกดทับและความร้อนสูง  ลวดสลิงไส้เชือกเหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ความยืดหยุ่นสูง เช่นการประมง

Independent Wire Rope Core (IWRC) / Wire Stand Core (WSC)

ลวดสลิงไส้เหล็กนั้นมีความแข็งแรงมากกว่าไส้เชือก เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้แรงยกมากกว่า และไม่ต้องการความยืดหยุ่น เช่นงานเครนยกแนวตั้ง งานขึง และ อื่นๆ

โครงสร้างลวดสลิง อะไรคือ เกลียวหยาบ เกลียวละเอียด

โครงสร้างของลวดสลิงนั้นถูกออกแบบมาอย่างหลากหลายเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกัน ลวดสลิงที่เราเห็นตามท้องตลาดมักแบ่งเป็นเกลียวหยาบและเกลียวละเอียด

เกลียวหยาบตัวอย่างโครงสร้างที่เราเคยได้ยินคือลวดสลิงโครงสร้าง 6×36

เลข 6 ตัวแรกหมายจำนวณเกลียวที่มีอยู่(สังเกตุได้จากวงกลมสีแดง)

ส่วนเลข 36 ระบุถึงจำนวณลวดต่อหนึ่งเกลียว

เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป

เกลียวละเอียด (Non-Rotate) นั้นถูกออกแบบมาเพื่อลดการบิดและการหมุนของลวดสลิง

โครงสร้างตัวอย่างเช่น 19×7 หรือ 35×7

จากภาพเราจะเห็นได้ว่า 19 นั้นคือเกลียวและ 7 นั้นคือจำนวณลวดต่อหนึ่งเกลียว

การเรียงตัวของเกลียวละเอียดนั้นทำให้เกลียวด้านนอกและด้านในหมุนไปคนละทิศเพื่อลดแรงหมุน

เหมาะสำหรับการใช้งานเครนและปั้นจั่นสูงซึ่งแรงหมุนเป็นปัจจัยสำคัญ

รูปด้านบนแสดงทิศทางการหมุนของลวดสลิง

1 Layer คือสลิงหนึ่งชั้น เช่นโครงสร้าง 6×36 สำหรับใช้งานยกทั่วไป

2 Layer คือสลิงกันหมุนระดับนึง เช่นโครงสร้าง 19×7 ซึ่งเกลียวชั้นนอกกับชั้นในหมุนไปคนละทิศทำให้ลดการ

3 Layer ลวดสลิงกันหมุน 3 ชั้น เช่นโครงสร้าง 35×7 การออกแบบที่ลดแรงหมุนมากกว่าเดิมเป็นที่นิยมสำหรับเทาว์เวอร์เครน เครนที่ต้องทำงานในที่สูงและเกิดความเสี่ยงจากการหมุนมากกว่ากรณีอื่น

ขนาด ลวดสลิงรับน้ำหนัก ได้เท่าไหร่ ค่าความปลอดภัย

การเลือกขนาดของลวดสลิงนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

การเลือกน้ำหนักที่เราต้องการยกนั้นเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถเลือกขนาดของลวดสลิงได้

เช่นหากเราอยากยกสินของที่มีน้ำหนัก 3 ตัน เราสามารถดูจากสเปค 6×36 https://spicainter.com/product/6x36ws/ หรืออิงจากตะรางด้านล่างเราจะเห็นได้ว่าตะรางส่วนมากนั้นแสดงเป็นค่า Minimum Breaking Load (MBL) หรือ แรงขั้นต่ำที่ทำให้ลวดสลิงขาด

จะเห็นได้ว่าลวดสลิงขนาด 14 มม.นั้นรับแรงก่อนที่จะขาดได้ 15 ตัน แต่ตามมาตรฐานประเทศไทยนั้น Safety Factor หรือค่าความปลอดภัยที่ใช้อยู่ที่ 5 เท่า นั้นหมายถึงเราต้องเอาแรงดึงขาด MBL มาหารด้วยค่า Safety Factor เพราะฉะนั้นสลิง 14 มม.นั้นสามารถยกน้ำหนักได้เพียง 3 ตันเท่านั้น

ค่า Safety Factor นี้ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ลวดสลิง สำหรับเครื่องจักรเคลื่อนไหวค่า Safety Factor จะเป็น 6 เท่า

บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมรถเฮี๊ยบที่ยกได้ 3 ตัน นั้นใช้สลิงแค่ 8 มม.เท่านั้น เพราะว่ารถบางสเปคถูกออกแบบมาให้ใช้สลิง 2 เส้นหรือบางทีถึง 4 เส้นด้วยกัน การออกแบบรถช่วยรับแรงทำให้น้ำหนักไม่ได้ตกอยู่ที่ลวดสลิงเท่านั้น เพราะฉะนั้นการเลือกลวดสลิงสำหรับรถเฮี๊ยบหรือเครนนั้นต้องอ้างอิงจากหนักสือคู่มือสำหรับการเลือกสเปคและขนาดที่เหมาะสม

เกลียวซ้ายหรือเกลียวขวา

นอกจากขนาดแล้วสิ่งที่เราต้องอ้างอิงในสเปคคู่มือคือเกลียวของลวดสลิง เพราะว่าเครื่องจักร รถเครน รถเฮี๊ยบที่ถูกออกแบบมาใช้กับลวดสลิงเกลียวขวานั้นไม่สามารถใช้คู่กับสลิงเกลียวซ้ายได้ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องรู้ว่าสเปคที่เราต้องใช้เป็นเกลียวซ้ายหรือขวา หรือสามารถส่งสมุดคู่มือให้ทางช่างฝั่งเทคนิคเพื่อหาสเปคที่ตรงกับคู่มือ

เกลียวธรรมดาหรือเกลียวพิเศษ

นอกจากเกลียวซ้ายเกลียวขวาแล้วลวดสลิงยังสามารถแบ่งได้เป็นเกลียวธรรมดาหรือเกลียวพิเศษ

เกลียวของลวดลิงนั้นหมายถึงการเรียงตัวของลวดสลิงต่อแกนกลาง

เกลียวของลวดสลิงนั้นสามารถแบ่งได้ 3 อย่างหลักตามนี้

Regular Lay – เกลียวธรรมดา ทิศทางของเกลียวในแต่ละเส้นลวด

และทิศทางของการมัดเกลียวนั้นตรงกันข้าม ลวดวางตัวแนวที่ขวางกับทิศทางการตีเกลียว

แบ่งได้เป็นเกลียวซ้ายและเกลียวขวา

ลวดเกลียวธรรมดานั้นทนต่อแรงกดทับและการหมุนมากกว่าเกลียวพิเศษ

Lang Lay – เกลียวพิเศษ / เกลียวแลงส์ ทิศของลวดในเกลียว และทิศของเกลียวบิดไปในทางเดียวกัน

เช่นกันสามารถแบ่งได้เป็นเกลียวซ้ายเกลียวขวา

ลวดเกลียวพิเศษหรือแลงส์นั้นสามารถทนต่อความล้า และเสียดสีได้ดีกว่าเกลียวธรรมดา เนื่องจากผิวสำผัสของลวดเหล็กแต่ละเส้นมีมากกว่า ทำให้ยืดหยุ่นได้ดีกว่า ทำให้อายุการใช้งานในพื้นในสภาวะที่มีแรงดัดโค้งดีกว่าเกลียวธรรมดา 15%-20%

Alternate Lay – เกลียวสลับ เป็นการผสมระหว่างเกลียวธรรมดาและเกลียวแลงส์ ใช้เฉพาะในกรณีพิเศษ

อธิบายไปเมื่อกี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ เราจะเอาภาพมาอธิบายดีกว่าครับ

A: Right Hand Ordinary Lay (RHOL) เกลียวขวาธรรมดาสังเกตได้ว่าเกลียวขวานั้นวิ่งเฉียงขึ้นขวา สำหรับเกลียวธรมมดา จะเห็นได้ว่าลวดเส้นเล็กที่ประกอบเป็นเกลียววิ่งในแนวตรง

B: Left Hand Ordinary Lay (LHOL) เกลียวซ้ายธรรมดาสังเกตุได้ว่าซ้ายคือเส้นลวดวิ่งทางซ้ายตามลูกศร ลวดก็ยังวิ่งเป็นแนวตรง

C: Right Hand Lang Lay (RHLL) เกลียวขวาพิเศษ ทิศทางของเกลียวบิดไปขวาเหมือนเกลียวธรรมดา ลวดเส้นเล็กในเกลียวพิเศษจะวิ่งเฉียงไม่ได้วิ่งแนวตรง

D: Left Hand Lang Lay (LHLL) เกลียวซ้ายพิเศษ เช่นกันเกลียวเรียงตัวไปทางซ้ายและลวดเรียงตัวทางซ้าย

E: Alternate Lay: เป็นเกลียวผสมทั้งเกลียวธรรมดาและเกลียวพิเศษ สเปคนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในไทย

Lubrication and Finish พื้นผิวและการหล่อลื่น

พื้นผิวของลวดสลิงสามารถแบ่งได้เป็น ชุบหรือไม่ชุบกาวาไนท์

ชุบหรือไม่ชุบกาวาไนท์นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานลวดสลิงที่ควรชุบกาวาไนท์จำพวกลวดที่ใช้สำหรับขึงเพื่อความสวยงามและงานประมง เนื่องจากลวดนั้นไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่ไม่ได้เปลียนบ่อยชุบกาวาไนท์นั้นจะช่วยยืดอายุของลวดสลิง

สำหรับสลิงเครนและการใช้งานทั่วๆไปแนะนำว่าเป็น ungalvanized หรือไม่ชุบกาวาไนท์เพราะว่าถ้าเป็นสลิงที่ใช้งานต่อเนื่องอายุของลวดสลิงจะหมดก่อนการเกิดสนิม เพราะว่าลวดสลิงที่ชุบกาวาไนท์นั้นจะมีราคาแพงว่า

ทำไมลวดสลิงต้องหล่อลื่น ใช้อะไรหล่อลื่น

การหล่อลื่นนั้นช่วยลดการเสียดสีของลวดและช่วยยืดอายุการใช้งาน

การหล่อลื่นลวดสลิงแบ่งเป็น 2 ประเภทคือการหล่อลื่นผิวนอกและแกนใน

การหล่อแกนในนั้นจะใช้สารจำพวก petrolatum, asphaltic, grease, petroleum oil vegetable oil-based

การหล่อผิวนอกนั้นส่วนมมากใช้ยางมะตอยและส่วนผสมอื่นๆ

เพื่อลดการเสียดสีและยืดอายุการใช้งานต้องหล่อทั้งแกนในและผิวนอกเพราะการเสียหายของลวดสลิงส่วนมากนั้นเกิดขึ้นภายใน

มาตรฐานการหล่อลื่นลวดสลิง

การหล่อลื่นนั้นตามมาตรฐานจะแบ่งออกเป็น A0-A3 (อันนี้ไม่ใช่เกรดของเนื้อนะครับ)

A0: นั้นหมายถึงการหล่อลื่นเฉพาะแกนกลาง เหมาะสำหรับลวดสลิงชุบกาวาไนท์เพื่อความสวยงาม

A1-A3: จากจะเพิ่มความหนาของจาระบีขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งสูงลวดสารจาระบีจะหนาขึ้นและจะเหนียวขึ้น(Tacky) ลวดสลิงที่มีความเหนียวมากๆ จะเหมาะกับอุสาหกรรมเช่นประมง สำหรับเครนหรือการใช้งานทั่วไป A2 ถือว่าเป็นมาตรฐานของการหล่อลื่น ถ้าสั่งลวดแล้วไม่ได้สั่งระดับความหนาส่วนมากที่จะได้คือระดับ A2 ซึ่งพอเพียงต่อการใช้งาน

สรุปการเลือกลวดสลิง

เลือกแกนของลวดสลิง ไส้เหล็ก ไส้เชือก เลือกโครงสร้าง 6×36 หรือ เกลียวหยาบ เกลียวละเอียด เลือกขนาด 5 หุน 15 มม. หรือเลือกรับน้ำหนัก เลือกเกลียว เกลียวซ้ายเกลียวขวา ธรรมดาหรือพิเศษ เลือกพื้นผิวและการหล่อลื่น ชุบกาวาไนท์ A0 หรือเคลือบจาระบี A2

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ผมก็หวังว่ามันจะช่วยคุณได้ไม่มาก็น้อยในการเลือกลวดสลิงในครั้งต่อไปหรือถ้ายังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สไปก้า อินเตอร์เนชั่นแนลเรามีทีมงานและช่างเทคนิคที่สามารถตอบทุกปัญหาเกียวกับลวดสลิงของคุณ

Tel: 02-346-0191

Website: www.spicainter.com

Email: sales@spicainter.com

Line OA:@spicainter

Google Map: https://goo.gl/maps/MBRWMhgZkkJHawxX6

@Copyright 2021 "SPICA INTERNATIONAL" all rights reserved.