การ ตรวจ สอบ สลิงผ้าใบ
RECENT POSTS
สลิงแบน สลิงอ่อน สลิงผ้า สายพานยกของ สลิงโพลีเอสเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ข้อดีหลากหลาย เนื่องจากน้ำหนักเบา ง่ายต่อการใช้งาน สามารถรับน้ำหนักได้หลายตันเทียบกับน้ำหนักตัว มักนิยมใช้สำหรับสินค้าที่บอบบางเพราะว่าจะไม่ทำให้พื้นผิวเสียหาย และสลิงอ่อนนั้นสามารถนำมาใช้งานกับสินค้าที่มีความไวไฟเนื่องจากการสลิงอ่อนนั้นไม่ก่อสะเก็ดไฟ
คุณสมบัติสลิงอ่อน
สลิงอ่อน สลิงแบน สลิงโพลีเอสเตอร์ หรือสาพานยกของนั้นเป็นอุปกรณ์ที่มักคุณเคยใช้ในการยกนอกจากใช้งานแล้วนั้นยังมีข้อดีอีกมากเช่น
- ทนต่อเคมีประเภทกรดอ่อน แต่แพ้ด่าง
- ทนต่อรา น้ำมันน จารบีและน้ำทะเลได้ดี
- ไม่สูญเสียค่าการรับน้ำหนักแม้ยกวัสดุใต้น้ำเป็นเวลานานๆ
- สามารถทนต่อความร้อได้ 100 C
- ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า
- น้ำหนักเบา
- อัตราการยืดตัวเฉลี่ยประมาณ 2-4% ของความยาวสลิงทั้งเส้น
แต่อย่าเพิ่งสบายใจเกินไปหารู้ไม่ว่าสลิงอ่อนนั้นเป็นสาเกตุของอุบัติเหตุเกิน 50% จากผลสำรวจ เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบให้มั่นใจก่อนนำไปใช้งาน
ข้อแนะนำการใช้งาน
ควรทำทุกกรณี
- เก็บให้ถูกต้อง ในที่แห้งและห่างจากสารเคมี
- ตรวจสอบสลิงอ่อนก่อนใช้งานและหลังใช้งานเสร็จ
- ห้ามสัมผัสกับของมีคมหรือใช้ปอกกันคมเมื่อจำเป็น
- ถ่วงน้ำหนักให้เฉลี่ยเท่าๆกันทั่วเส้นสลิง
ห้ามทำ
- มัดเป็นปมหรือมัดให้สั้นลง
- สัมผัสกับเปลวไฟ
- ใช้ในสถานที่ที่อุณหภูมิ สูงกว่า 80 องศาหรือต่ำกว่า 0 องศา
- สัมผัสกับสารเคมีก่อนปรึกษา
- ใช้สลิงอ่อนที่มีรอยขาดหรือรอยเย็บเสียหาย
เกณฑ์การยกเลิกสลิงแบนตามกฎหมาย
ตามกฎหมาย ประกาศกรมสวัสดิการฯ การใช้เชือกลวดสลิงและรอก พ.ศ. 2553 ข้อ 10 ให้นายจ้างใช้ เชือกที่มีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 (เข้าใจค่าความปลอดภัย) ขณะใช้งาน และต้องควบคุมตรวจสอบมิให้นำเชือกผุเปื่อย ยุ่ย ชำรุด สกปรก หรือพอง อันอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยมาใช้งาน นายจ้างต้องควบคุมตรวจสอบเพิ่มเติมมิให้นำสลิงใยสังเคราห์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ มาใช้งาน
- มีรอยเย็บปริ หรือขาด
- มีเศษโลหะหรือสิ่งอื่นใดฝังตัวอยู่ในเส้นใยหรือเกาะที่ผิว
- มีรอยเนื่องจากความร้อนหรือสารเคมี
เกฑณ์การยกเลิกสลิงแบน
“ขาดนิดเดียวเองยังใช้งานได้” คุณเคยได้ยินมั้ยแล้วตามมาตรฐานละต้องขาดแค่ไหนถึงไม่สามารถใช้งานได้ หากสลิงอ่อนของคุณตรงข้อใดตามต่อไปนี้ต้องเตรียมเปลียนใหม่ได้เลยครับ
- รอยขาดนั้นเกินกว่าความหนาของสลิงอ่อน
- รอยขาดนั้นลึกเกินกว่า 15% ของความหนาของสลิงอ่อน
- รอยขาด 2 ด้านนั้นรวมแล้วเกินกว่า 15% ของความหนาสลิงอ่อน
- รอยไหม้หรือรอยกัดจากกรด
- ป้ายระบุสเปคนั้นไม่สามารถอ่านได้
- รอยดำจากการไหม้
- ตะเข็บหลุดจากส่วนที่ใช้รับน้ำหนัก
- ปมส่วนไหนส่วนนึงของสิงอ่อน
- หรือสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับกานใช้งานตามภาพประกอบด้านล่าง
สลิงอ่อนนั้นง่ายต่อการใช้งานและราคาไม่แพง เราไม่ควรเอาความปลอดภัยมาเสี่ยง จากงานวิจัยใช้สลิงอ่อนจะสูญเสียแรงดึงถึง30% ภายในปีแรกและจะคงที่อย่างงั้น หากใช้แรงรับแรงสูงบ่อยครั้งควรเพิ่มความระมัดระวังและหมั่นตรวจสอบเองก่อนการใช้งานทุกครั้ง