การตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยยก สเก็น ตะขอ
RECENT POSTS
ความเดิมจากตอนที่แล้วที่ผมได้เขียนเกี่ยวกับการตรวจสอบลวดสลิง ตามกฎหมาย วันนี้เราจะมาดูการตรวจสอบอุปกรณ์ สเก็น ตะขอ มาตรฐานการตรวจสอบอุปกรณ์ยกแต่ละอย่างคือยังไง และเกณฑ์การยกเลิก การใช้งาน ข้อควรระวังระหว่างการใช้งาน
การตรวจสอบสเก็น
สเก็นนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการยกเนื่องจากเป็นตัวเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ต่างๆและยังง่ายต่อการใช้งาน สเก็นนั้นมีหลายชนิดตั้งแต่ส่วนใหญที่ใช้ในตลาดบ้านเราจะแบ่งเป็น 2 ชนิดของตัว สเก็นโอเมก้า และ สเก็นตัวยู และอีก 2 ชนิดของหัว Screw Pin และ Bolt & Pin
ส่วนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกด้วยสเก็นนั้นอิงตามจะมีระบุอยู่ 5 ข้อตามนี้
กฎหมาย ประกาศกรมสวัสดิการฯ การใช้เชือกลวดสลิงและรอก พ.ศ. 2553
ข้อ 81 ห้ามนายจ้างใช้ตะขอที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เว้นแต่นายจ้างได้ทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
- มีการบิดตัวของตะขอตั้งแต่ 10 องศาขึ้นไป
- มีการถ่างออกของปากเกินร้อยละ 15
- มีการสึกหรอที่ท้องตะขอเกินร้อยละ 10
- มีการแตกหรือร้าวส่วนหนึ่งส่วนใดของตะขอ
- มีการเสียรูปทรงหรือสึกหรอของห่วงตะขอ
รูปจุดตรวจสอบสเก็น
กฎหมายที่กล่าวมาด้านบนนั้นจะร่วมสเก็นตะขอนอกเหนือจากที่ระบุมาด้านบนแล้วต้องตรวจสอบสมั่นเสมอ ก่อนใช้งานโดยหากว่าตรงข้อใดในนี้ควรหยุดการใช้งานทันที
- เช็คว่าไม่มีการยืดออก การยืดออกหมายถึงสเก็นรับน้ำหนักเกิน
- เช็คที่ตัวสเก็นว่าไม่มีการเสียรูป เกิดจากการรับน้ำหนักด้านข้าง
- เช็คที่สลักว่าไม่มีการเสียรูป รอยการกัดของเคมี หรือการแตกหัก
- ตัวเกลียวนั้นต้องสามารถหมุนได้สุด
- เปลียนสเก็นที่มีการงอ มีการสึกหรอมากกว่า 10% จากเส้นผ่าศูนย์กลางปกติ หรือมีการยืดออกที่ตัวสเก็นหรือที่รู
- ไม่มีร่องรอยการกัดกร่อนจากสนิม
ข้อห้ามและข้อควรระวังการใช้สเก็น
ห้ามเปลียนพินด้วยโบลท์ชนิดอื่นๆโดยเด็ดขาด แรงดึงจะทำให้สเก็นงอได้
ไม่ควรปล่อยให้สเก็นรับแรงในองศาที่ไม่ใช่ 90 สามารถใช้วอชเชอร์เพื่อปรับองศาการยก
รูปสเก็นงอเพราะใช้โบลท์แทนพินห้ามใช้สเก็น screw pin สำหรับ การยกที่พินมีโอกาสกระทบกับสิ่งเคลื่อนไหว
ถ้าน้ำหนักเปลียนสลิงสามารถคลายเกลียวของสเก็นได้
ห้ามยกเกิน 120 องศาเมื่อใช้งานสลิงหลายขา
การตรวจสอบตะขอ
ตะขอเป็นอุปกรณ์อีกอย่างนึงที่ต้องหมั่นตรวจก่อนการใช้งาน การตรวจสอบเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้ ให้อิงจากภาพประกอบจุดสำคัญที่รับแรง
- ห้ามปากตะขออ้าเกิน 5%
- หากพบรอยแตกร้าวให้ยกเลิกการใช้ทันที่
- ส่วนตะขอที่ต้องรับน้ำหนักนั้นสึกได้ไม่เกิน 10% จากเดิม
- หัวตะขอนั้นหากพบว่างอเกิน 10° จากลำตัวให้ยกเลิกทันที