มาตรฐานการตรวจสอบลวดสลิง
RECENT POSTS
ลวดสลิงเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับงากยก ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้นอาจจะร้าย นอกจากทำให้ทรัพย์สินเสียหายอาจนำไปสู่การเสียชีวิต ดังนั้นการตรวจสอบลวดสลิงนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นต่ำควรตรวจสอบลวดสลิงอย่างน้อยเดือนละหนึ่งหน
การตรวจสอบลวดสลิงนั้นสามารถทำได้โดย การสังเกตสภานผิวภายนอกของลวดสลิง
อ้างอิงจากตามมาตรฐาน การตรวจสอบลวดสลิงที่กระทรวงระบุ
หากสังเกตุได้ผิวของลวดสลิงนั้นผิดรูปไปจากมาตรฐานหรือตรงตามมาตรฐาน
การยกเลิกการใช้งานลวดสลิงนั้น ควรหยุดการใช้งานโดยทันที
มาตรฐานหลักเกี่ยวกับการตรวจสอบลวดสลิงได้อ้างอิงจาก 2 แหล่งด้านล่าง
ลวดสลิงที่นายจ้างห้ามใช้โดยกฎกระทรวงฯ ความปลอดภัยฯ เครื่องจักปั้นจั่นหม้อน้ำ พ.ศ.2552
- ลวดสลิงที่เส้นผ่าศูนย์เล็กลงเกินร้อยละห้า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเดิม
- ลวดสลิงทีเป็นสนิมจนเห็นได้ชัด
- ลวดสลิงที่ชำรุดมากจนเห็นได้ชัด
- ลวดสลิงเคลื่อนที่ (ลวดวิ่ง) เช่นสลิงเครน
- ในหนึ่งช่วงเกลียวขาดตั้งแต่ 3 เส้นขึ้นไปในเกลียวเดียวกัน
- ขาดตั้งแต่ 6 เส้นขึ้นไปในหลายเกลียวรวมกัน
- ลวดสลิงยึดโยง ที่มีเส้นลวดขาดตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไปในหนึ่งช่วงเกลียว
ความยาวหนึ่งช่วงเกลียว
เกณฑ์การยกเลิกการใช้งานลวดสลิง ตามประกาศกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน–หลักเกณฑ์การใช้เชือกรอก
- เป็นสนิมจนเห็นได้ชัดหรือถูกกัดกร่อนชำรุด
- มีร่องรอยจากการถูกความร้อยทำลาย
- ขมวด (Kink) หรือแตกเกลียว (Bird Caging)
- เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเกินร้อยละห้าของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
- เส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียว (Lay) ขาดตั้งแต่สามเส้นขึ้นไปในเกลียว
โดยสรุปการตรวจสอบสลิงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่อาจละเลยได้
โปรดตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละครั้งและเปลียนสลิงทันทีหากสังเกตุได้ว่าลวดสลิงมีสภาพดังรูปด้านบน