การคำนวณ Safety Factor สลิง
RECENT POSTS
ค่าความปลอดภัยคืออะไร
ค่า ความปลอดภัย สลิง อุปกรณ์ยก ตารางค่าความปลอดภัย เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สลิง สเก็น รอก หรืออุปกรณ์ยกอื่นๆ นั้นปลอดภัยและรับแรงได้มากพอสำหรับการใช้งาน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวค่าความปลอดภัย หรือ Safety Factor คืออะไร การคำนวณ และมาตรฐานค่าความปลอดภัยตามกฎหมายของอุปกรณ์การยกแต่ละชนิด และการคำนวณน้ำหนักที่อุปกรณ์แต่ละชนิดสามารถยกได้ ก่อนอื่นเราจะนิยามค่าความปลอดภัยก่อน อ้างอิงจาก กฎกระทรวงฯ ความปลอดภัยฯ เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2552 “ค่าความปลอดภัย” (Safety Factor) หมายความว่าอัตราส่วนระหว่างแรงดึงที่ลวดสลิงและอุปกรณ์ประกอบการยกรับได้สูงสุดต่อแรงดึงของลวดสลิงและอุปกรณ์อระกอบการยกที่อนุญาติให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย”
การคำนวณค่าความปลอดภัย
ถ้าอ่านเองแล้วเข้าใจก็สามารถปิดหน้านี้ได้เลยครับ แต่ถ้ายังไม่เข้าใจก็อย่าเพิ่งไปไหนนะครับ ค่าความปลอดภัยนั้นจะนับเป็นเท่าเช่น 4 เท่า หรือ 6 เท่า ต่อค่าแรงดึงสูงสุด ค่าความปลอดภัยนั้นคือจำนวณเท่าน้อยกว่าแรงดึงขาดที่กำหนดไว้ Minimum Breaking Load (MBL) คือค่าแรงดึงขั้นต่ำที่ทำให้ลวดขาด ลวดสลิงเกลียวหยาบโครงสร้าง 6×36(Link to page) ขนาด 16 มม. นั้นสามารถมีค่าแรงดึงสูงสุดอยู่ที่ 17.6 ตัน เตือนไว้ก่อนนะครับ เห็นว่าแรงดึงเยอะขนาดนี้ หน้างานอาจระบุว่าต้องใช้แรงยกเพียง 4 ตันงั้นเส้นเดียวคงเหลือเฟือ อันนี้ห้ามเด็ดขาดเลยนะครับ ห้ามนำแรงดึงขาด (MBL) มาเป็นตัววัดว่ายกได้หรือไม่ ตัววัดที่สามารถระบุว่ายกทำงานได้หรือไม่คือค่า Working Load Limit (WLL) หรือสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า Safe Working Load (SWL )ซึ่งหมายความถึงสิ่งเดียวกัน Working Load Limit = ขีดจำกัดที่ยกทำงานได้ น้ำหนักสูงที่อนุญาตให้ยกทำงานได้ เพราะเหตุนั้นเราจำเป็นต้องรู้ ค่าแรงดึงที่สินค้าระบุนั้นเป็นค่า แรงดึงสูงสุด (Minimum Breaking Load) หรือค่า ขีดจำกัดที่ยกทำงานได้ (Working Load Limit) และต้องรู้ว่าการใช้งานอุปกรณ์การยกแต่ละประเพศ ค่าความปลอดภัยขั้นต่ำอยู่ที่เท่าไหร่
ก่อนที่เราจะสามารถคำนวณน้ำหนักสูงสุดที่ลวดสลิงหรืออุปกรณ์ยกสามารถยกได้ขาดอีกเพียงตัวแปรเดียวนั้นก็คือมาตรฐานค่าความปลอดภัยของสลิงอยู่ที่เท่าไหร่ ค่าความปลอดภัยของลวดสลิงนั้นจะแบ่งเป็น 2 ตัวตามการใช้งานของลวดสลิง อ้างอิงกฎกระทรวงฯ ความปลอดภัยฯ เครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2552 “ ข้อ 76 ห้ามนายจ้างใช้ลวดสลิงที่มีค่าความปลอดภัยน้อยหกว่าที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ”
1. ลวดสลิงเคลื่อนที่ ต้องมี ค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 6
(คือลวดสลิงที่เคลื่อนที่ขณะใช้งาน เช่นลวดสลิงที่ตะขอยก)
2. ลวดสลิงยึดโยง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5
(คือลวดสลิงที่มีหน้าที่ยึดโยงโครงสร้างของปั้นจั่น)
จากตัวอย่างด้านบนที่ลวดสลิงขนาด 16มม. โครงสร้าง 6×36 มีค่าแรงดึงสูงสุดอยู่ที่ 17.6 เราจะสามารถคำนวณได้ว่า ขีดจำกัดที่สามารถยกทำงานได้นั้นอยู่ที่เท่าไหร่ สำหรับลวดสลิงเคลื่อนที่ ค่าความปลอดภัย 3.5 นั้นสามารถใช้สำหรับงานยึดโยงโครงเท่านั้นที่น้ำหนักไม่เกิน 4 ตัน
สำหรับลวดสลิงเคลื่อนที่ ค่าความปลอดภัย 6 นั้นสามารถใช้สำหรับงานยกที่ไม่เกิน 2.92 ตัน
ค่าความปลอดภัยอุปกรณ์ใช้งานกับปั้นจั่น
คราวนี้เราสามารถคำนวณได้แล้วว่าขีดจำกัดที่ยกทำงานได้เท่าไหร่ นอกจากสลิงที่มีค่าความปลอดภัยดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอุปกรณ์ยกอย่างอื่นๆละมีค่าความปลอดภัยที่เท่าไหร่กันบ้าง อ้างอิงตามข้อ 78 ส่วนที่ 5 อุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับปั้นจั่น ห้ามนายจ้างใช้อุปกรณ์สำหรับการผูกมัด หรือยึดโยงวัสดุที่มีค่าความปลอดภัยน้อยกว่าที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
- ลวดสลิง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5
- โซ่ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4
- เชือก ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5
- ห่วงหรือตะขอ เช่น สเก็น หรือ มาสเตอร์ลิ่ง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5
- อุปกรณ์อื่นๆที่ใช้สำหรับงานผูกมัด ยึดโยงนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5
นอกเหนือจากนี้ยังการใช้ลวดสลิงสำหรับ งานอื่นๆยังมีข้อกำหนดที่ต่างออกไป เช่นลิฟต์ ซึ่งจะแบ่งเป็นลวดสลิงที่ใช้กับลิฟต์
- ลิฟต์ขนส่งวัสดุต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4
- ลิฟต์โดยสารต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 10
เปรียบเทียบค่าความปลอดภัย
ถ้าเราสังเกตุจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านอุปกรณ์ยกเช่น Crosby หรือ Greenpin เราจะพบว่าแบรนด์เหล่านี้ทั้งล้วนโอเวอร์ สเปคด้านค่าความปลอดภัย ค่าความปลอดภัยขั้นต่ำของห่วงหรืออุปกรณ์ยกนั้นอยู่ที่ 3.5 เท่าแต่ Crosby Greenpin Able แบรนด์ที่สไปก้าเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายนั้นล้วนมีค่าความปลอดภัยที่ 6 เท่า อย่างเช่นสเก็นยกนำ้หนัก 2 ตัน กับค่าความปลอดภัย 3.5 เท่านั้น แรงดึงที่รับได้สูงสุด MBL อยู่ที่ 7 ตัน ขนาดที่ค่าความปลอดภัย 6 เท่านั้นแรงดึงสูงสุดที่รับได้นั้น 12 ตัน แตกต่างกันอยู่ 5 ตัน หรือแรงดึงสูงสุดนั้นมากกว่าประมาณ ~70% เลยที่เดียว ตั้งนั้นก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมราคาต่างกันอยู่มาก
อันนี้เป็นการอธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับความค่าความปลอดภัยในการใช้คำนวณแรงดีงสูงสุด หวังว่าท่านผู้อ่านจะมีความมั่นใจมากขึ้นในการสั่งสลิงในครั่งต่อไป และคำนวณ ขีดจำกัดที่ยกทำงาน (Working Load Limit) ได้ด้วยตัวเองในครั่งต่อไป คำเดือนองศาการยกนั้นมีผลต่อแรงดึงที่สามารถยกงานได้ การใช้สลิงสำหรับงานประเพศอื่นที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้นอาจมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป และอุปกรณ์ที่เสียหายอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งาน ศึกษาวิธีการตรวจสอบสลิงเบื้องต้นได้ที่นี่ หรือ มาตรฐานลวดสลิง ที่ควรรู้ก่อนสั่งลวดสลิง หากมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Tel: 02-346-0191 Line: @spicainter Facebook: https://www.facebook.com/spicainter.co.th Email: sales@spicainter.com